รักษารากฟัน

รักษารากฟัน

การรักษารากฟัน คือ การตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน สาเหตุเกิดมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน ฟันหัก ร้าว หรือฟันผุลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน

ฟันจะมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้

  1. ผิวเคลือบฟัน (Enamel) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกสุดและมีความแข็งแรงที่สุดของฟัน
  2. เนื้อฟัน (Dentin) คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างผิวเคลือบฟันกับโพรงประสาทฟัน ซึ่งส่วนนี้จะรับความรู้สึกต่างๆ ได้เร็ว ดังนั้น
    เมื่อผิวเคลือบฟันถูกทำลายจนทำให้เห็นเนื้อฟัน หรืออุณหภูมิในช่องปากเปลี่ยนไป จะทำให้เกิดอาการเสียวฟัน
  3. โพรงประสาทฟัน (Dental pulp) ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน
    โพรงประสาทฟันนี้จะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นสูงมากเนื่องจากประกอบไปด้วยเส้นประสาทจำนวนมาก หากเคลือบฟัน
    และเนื้อฟันถูกทำลายไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ก็จะมีอาการปวดฟันแสดงออกมา

สาเหตุส่วนใหญ่ของการรักษารากฟัน ได้แก่

  1. ฟันแตก
  2. ฟันผุอย่างรุนแรง
  3. เกิดอุบัติเหตุ เช่น ฟันได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในอดีต หรือพึ่งเกิดขึ้นก็ตาม
  4. รักษาเพื่อไปทำทัตกรรมด้านความสวยงาม

การรักษารากฟันทำอย่างไร

ขั้นตอนการรักษารากฟันมี ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทันตแพทย์จะฉีดยาฉา หลังจากนั้นจะทำการเจาะลงไปที่ตัวฟัน เพื่อระบายหนอง และเนื้อฟันที่ติดเชื้อออก หลังจากที่โพรงประสาทฟันที่เสียถูกตัดออก

ขั้นตอนที่ 2 ทันตแพทย์จะทำความสะอาดโพรงประสาทรากฟัน ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 ครั้ง หรืออาจจะต้องใส่ยาเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ในผู้ป่วยบางท่าน เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่าง

ขั้นตอนที่ 3 หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อจนสะอาดแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการรักษารากฟัน

ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันไปแล้ว จะมีส่วนของเนื้อฟันเหลือน้อย ซึ่งอาจจะทำให้ฟันแตกหรือหักง่ายกว่าปรกติ ดังนั้นทัตแพทย์จะแนะนำให้ทำครอบฟัน เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน แต่ถ้าเป็นฟันหน้า หรือฟันที่มีเนื้อฟันแท้เหลือน้อยมากๆ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่เดือยฟันร่วมกับการทำครอบฟัน

แต่จะมีบางกรณีที่คนไข้เคยรักษารากฟัน และทำครอบฟันไปแล้ว เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น ติดเชื้อเพิ่ม หรือ กำจัดเชื้อโรคไม่หมดในการรักษาครั้งแรก จึงจำเป็นจะต้องรักษารากฟันอีกครั้ง

สอบถามเกี่ยวกับการรักษา

รักษารากฟันโดยทันตแพทย์มากประสบการณ์